top of page
  • รูปภาพนักเขียนKlangjai S.

OBEM — Online Outcome-based Module ของมจธ.ที่เน้นการทำได้แบบเฉพาะเจาะจง (1/2)

อัปเดตเมื่อ 15 พ.ย. 2564


หากเราพูดถึงโมดูล (Module) ในการออกแบบการศึกษา หลายๆ ท่านอาจให้คำจำกัดความ (ของตัวเอง) จากสิ่งที่เคยเห็นหรือเคยเรียกต่อๆ กันมา บางท่านก็คิดว่าโมดูลคือการเอาวิชาหลายๆ วิชามาต่อกันแล้วเรียกกลุ่มวิชาเหล่านั้นว่า Module อีกหลายๆ ท่านก็มองว่า Module คือการเอาวิชามาหั่นเป็นท่อนๆ แล้วเรียกชิ้นส่วนย่อยๆ เหล่านั้นว่า Module


ในโพสต์นี้ เราจะมาพูดถึง Module ในมุมของการออกแบบการศึกษาแบบ Modular-based Design ซึ่งเรามองว่ามันเหมือนกับการออกแบบการเรียนรู้ให้เป็นชิ้นส่วนของ Lego ที่สามารถนำมาต่อกันได้ การเรียนรู้ที่เหมือน Lego 1 ชิ้นนี้จะถูกออกแบบให้จบในตัวเอง หมายความว่าเราจะมีเป้าหมายของการเรียนรู้ การวัดผลการเรียนรู้ และกระบวนการพัฒนาอยู่ใน Lego ชิ้นเดียวนี่แหละ ถ้าผู้เรียน “ทำได้” ก็จะมีความสามารถพอที่จะนำการเรียนรู้ไปใช้และมีประโยชน์กับชีวิตของผู้เรียนทั้งในเชิงการนำไปทำงานหรือในเชิงการสร้างความสามารถพื้นฐานเพื่อที่จะไปเรียนรู้ Lego ชิ้นต่อๆ ไปได้ และยิ่งผู้เรียนมี Legos หลายๆ ชิ้นที่นำมาต่อกัน ความสามารถของพวกเขาก็จะยิ่งเข้มข้น มีประโยชน์และสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นต่อไป

 

ทำไมต้องทำให้เป็น Lego ด้วย? แล้ววิชาแบบเดิมมันไม่ดีตรงไหน?


ความตั้งใจหลักของการออกแบบการศึกษาแบบนี้ที่ มจธ. มีจุดเริ่มต้นจากความคิดที่ Simple ว่าเราอยากจะ Unbundle การศึกษาไทยให้หลุดออกจากการมองเป็นหลักสูตรที่ใช้เวลานานในการสร้างและปรับปรุง ซึ่งถ้าเราออกแบบเป็น Lego ได้จริง เราจะสามารถสร้างให้เกิดความยืดหยุ่นในการออกแบบและปรับปรุงการศึกษาให้ทันต่อความต้องการของผู้เรียน การสร้างให้เกิด Loop ของการทำ Quality Improvement ในฝั่งผู้ออกแบบเป็นการ “บังคับตัวเราเอง” ในฐานะที่เป็น Educator ให้ปรับทั้ง What และ How ของการเรียนรู้ได้รวดเร็ว ตรงและทันต่อความต้องการมากยิ่งขึ้น การสร้างให้เกิด Chunk ของการออกแบบการเรียนรู้แบบนี้ยังสร้างให้เกิดความง่ายในการปรับเปลี่ยน (Modify) กระบวนการในการพัฒนาโดยมุ่งเน้นการพัฒนา Learning Outcome ที่สำคัญเพียงหนึ่งตัวเท่านั้น

 

การมี Lego หลายๆ ตัวไว้ต่อกัน ดีอย่างไร



ดีต่อผู้เรียน


สามารถสะสมความสามารถเหล่านี้เอาไว้ต่อเองในสิ่งพี่พวกเขาอยากเป็น ซึ่งจะสร้างให้เกิด Personalised Path ของแต่ละบุคคลตามความต้องการของพวกเขา


ดีต่อผู้สอน


ผู้สอนหรือผู้ออกแบบ สามารถที่จะ Reuse ชิ้นส่วน Legos ที่เคยถูกออกแบบมาแล้วในการวางแผนพัฒนาความสามารถที่หลากหลายโดยไม่จำเป็นต้องสร้างทุกชิ้นส่วนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะ Legos ที่เป็นส่วนฐานหรือเป็น Fundamental Skills และความสามารถพื้นฐานต่างๆ ซึ่งเราเลือกเอามาประกอบกัน Mix, Match, and Modify ได้อย่างรวดเร็ว


ดีต่อผู้ประกอบการ


ผู้ประกอบการหรือประเทศก็จะมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นในการพัฒนาคน เพราะเราจะมี Legos เป็นเครื่องมือในการออกแบบการพัฒนาคนที่ปรับให้เข้ากับบริบทที่แตกต่างกันได้ง่ายขึ้น สามารถสร้างเป็น Learning Pathway หรือ Skill Development Roadmap ที่ตอบโจทย์ได้รวดเร็วและทันต่อการนำไปใช้


ถ้าถามว่าการสร้างวิชาใหม่ตอบโจทย์การศึกษาที่ยืดหยุ่นหรือไม่?


น่าจะต้องเป็นคำถามที่ถามกลับถึงผู้ออกแบบวิชาใหม่ๆ ว่า วิชาใหม่ที่ใส่ไปในหลักสูตรถูกออกแบบมาแบบไหน การออกแบบเป็น Lego เป็นการออกแบบให้

  1. ผู้เรียนเห็นถึงเป้าหมายว่าผู้เรียนจะทำอะไรได้มากกว่าเดิม เรามอง Demand จากผู้เรียนเป็นตัวตั้งรึเปล่าว่าเขาจะทำอะไรได้ทำอะไรเป็นมากขึ้นจาก Learning Experience นี้

  2. สร้างให้เกิดความยืดหยุ่นในเรื่องเวลา หมายความว่าผู้เรียนผ่านเพราะ “ทำได้” ไม่จำเป็นต้องจบหรือผ่านพร้อมๆ กัน

  3. มี Learning Outcome ที่แคบและตั้งใจจะพัฒนาให้เกิดความสามารถเดียว ที่ผู้เรียนจะทำได้โดยมีการวัด Learning Outcome นั้นมากกว่า 1 ครั้ง

  4. มีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกฝน ลองทำ จนแน่ใจว่าผู้เรียน "ทำได้"

ถ้าการออกแบบวิชาตอบโจทย์แบบนี้ เราจะมองว่าวิชาเป็น Lego ได้เช่นกัน


 

เราได้เห็นกันแล้วว่า Module ของการออกแบบการศึกษาเปรียบเสมือนการออกแบบการเรียนรู้ให้เป็นชิ้นส่วน Lego ที่สามารถนำมาต่อกันได้ การเรียนรู้ที่เหมือน Lego 1 ชิ้นนี้จะถูกออกแบบให้จบในตัวเอง สร้างให้เกิดความยืดหยุ่นในการออกแบบและปรับปรุงการศึกษาให้ทันต่อความต้องการของผู้เรียน อีกทั้งยังสร้างให้เกิดความง่ายในการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการพัฒนาโดยมุ่งเน้นการพัฒนา Learning Outcome ที่สำคัญเพียงหนึ่งตัวเท่านั้น แล้วการศึกษาที่เอาเวลาเป็นแกนกับการศึกษาที่เอาความสามารถเป็นแกนทั้งสองแบบนี้คืออะไร เราจะมาพูดถึงกันในตอนต่อไป


 

References :

ดู 979 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page