top of page
  • รูปภาพนักเขียนKlangjai S.

OBEM — Online Outcome-based Module ของมจธ.ที่เน้นการทำได้แบบเฉพาะเจาะจง (2/2)

อัปเดตเมื่อ 18 พ.ค. 2564



จาก Module ของการออกแบบการศึกษา หรือ ชิ้นส่วน Lego ที่สร้างให้เกิดความยืดหยุ่นในการออกแบบและการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการพัฒนาโดยมุ่งเน้นการพัฒนา Learning Outcome ซึ่งเราได้พูดกันไปในตอนที่แล้ว ช่วงต่อไปเราจะมาพูดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจากการศึกษาที่เอาเวลาเป็นแกนมาเป็นการศึกษาที่เอาความสามารถเป็นแกน


จากการศึกษาที่เอาเวลาเป็นแกน สู่การศึกษาที่เอาความสามารถเป็นแกน


อีกหนึ่ง Pain Point ที่ต้องยอมรับกันของการจัดการศึกษาแบบเก่าๆ คือ เรื่องการบริหารจัดการการเรียนการสอนซึ่งเราทำกันจนคุ้นชินว่าเราจะต้องรับผู้เรียนเข้ามาพร้อมกันและประเมินความสามารถพวกเขาตอนปลายเทอมเหมือนกัน ทั้งที่เราทราบว่ามีผู้เรียนส่วนหนึ่งพร้อมและบางส่วนที่อาจจะยังทำไม่ได้และไม่พร้อมที่จะถูกประเมินความสามารถ (สมมุติว่าจุดสีแดงใน Diagram ด้านล่างเป็นการสอบ) เรายังคงมองกันว่าผู้เรียนจะเรียน “จบ” หลังจากผ่านการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เวลาเป็นแกน ซึ่งในความเป็นจริงคำว่าจบคือเราจบแล้ว หมายถึงไม่ต้องทำอะไรอีก แต่ผู้เรียนจริงๆ แล้วอาจจะ “ไม่จบ” เพราะเวลาไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จถ้าพวกเขายังทำไม่ได้


ทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยนแกนจากเวลามาเป็นความสามารถของผู้เรียน


นี่เป็น Challenge สำคัญของพวกเราที่ต้องหาวิธีการพัฒนาผู้เรียนตามความสามารถหรือการทำได้หรือทำเป็นของพวกเขา ซึ่งไอเดียของการทำให้เกิดการพัฒนาตามความสามารถที่เราลองกันอยู่ตอนนี้คือ การออกแบบวิธีการวัดความสามารถผ่าน Micro-Credentials ซึ่งเหมาะกับความสามารถที่เฉพาะเจาะจงโดยแสดงออกให้เห็นได้ผ่านหลักฐานในงานหรือการแก้ปัญหาจริง แต่สำหรับผู้เรียนที่ยังทำไม่ได้หรือไม่เป็นและต้องการเรียนรู้ที่มีการวัดความสำเร็จของการเรียนรู้อย่างชัดเจน การออกแบบการศึกษาให้เป็น Lego จะช่วยสร้างให้เกิดการเรียนรู้ “ที่ผู้เรียนเป็นคนเลือก” ตามความจำเป็น ระดับความสามารถ และความต้องการของแต่ละบุคคล


 

ออกแบบ Learning Lego กันเถอะ


คำถามสำคัญของการออกแบบการศึกษาแบบ Modular-based จริงๆ แล้ว ไม่ใช่เรื่องของ What อย่างเดียวแต่เป็นเรื่องของ how ด้วยว่าเรามีวิธีการอย่างไรที่จะได้มาซึ่ง Module เหล่านั้น เรามาดูกันว่าถ้าเราอยากจะออกแบบการเรียนรู้ให้เป็น Lego หรือเราเรียกชื่อยาวๆ ที่ มจธ.ว่ามันคือ Outcome-based Education Module (OBEM) เราต้องคิดถึงอะไรบ้าง


  • เป้าหมายในการออกแบบ OBEM คือ เน้นการ “ทำได้” ซึ่งผู้ออกแบบควรพิจารณาจากเป้าหมายเชิง Competency Development โดยเน้นการแบ่งให้เกิดหลายๆ Module ตามโครงสร้าง ลำดับและธรรมชาติของการพัฒนา Competency นั้นๆ

  • การออกแบบเป็นชุด เพื่อให้เห็น Pathway ที่ร้อยเรียงกันตามโครงสร้าง ลำดับและธรรมชาติของการพัฒนา Competency การออกแบบเป็น Pathway หรือ Roadmap นั้นจะสร้างให้เกิด Flow ของการพัฒนาความสามารถที่เป็นลำดับขั้นโดยแต่ละ OBEM จะเป็น “Self-contained chunk” ที่จบในตัวเอง โดยอาจจะมีความเชื่อมต่อกับ OBEMs ตัวอื่นๆ ในโครงสร้างเดียวกัน


องค์ประกอบของ OBEM คร่าวๆ


  1. มีการกำหนด Significant Learning Objective หรือ Outcome ไว้ 1 ตัว โดยต้องมี Performance Criteria ที่บอกว่าอะไรเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้เรียนได้แสดงออกถึง ระดับของ Performance ที่บอกถึง Achievement of Llearning Outcome การมี Performance criteria ในรูปแบบของ Rubric Scoring นี้จะช่วย Set Expectations ให้ผู้เรียนทำให้ผู้เรียนทราบว่าต้องทำอะไรได้ ทำได้อย่างไร ในระดับอะไร และสร้างให้เกิดความยุติธรรมและ Consistency ของการวัดผลการเรียนรู้

  2. ควรมีการวัด Learning Outcome ให้แน่ใจว่าเกิดการทำได้ในระดับเดียวกันอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนทำได้ไม่ใช่แค่ได้ลองทำ โดยมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน ลองทำ และได้รับ Feedback ก่อนที่จะมีการวัด Learning Outcome อย่างพอเพียงเสมอ ซึ่งกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดลอง ฝึกฝนเหล่านั้นต้องไม่มีผลต่อการวัด Learning outcome (Note: Assessment of learning outcomes should be authentic as much as possible.)

  3. มีการพัฒนาผู้เรียนที่เน้นการทำได้ตาม Learning Outcome ที่ระบุไว้โดยเป็นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Online หรือ Hybrid โดยต้องมีการเก็บผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่แสดงถึงระดับของการทำได้ไว้ตลอดระยะเวลาการพัฒนาความสามารถและสามารถกำหนดระยะเวลาในการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละ Module ประมาณ 2–4 สัปดาห์


 

ถ้าดูกันให้ชัดๆ จริงๆ จะเห็นว่าการออกแบบให้เป็น Lego หรือ OBEM ไม่ได้มีอะไรใหม่เลย เป็นแค่การออกแบบการศึกษาตามหลักการ Outcome Based Education ปกติที่เน้นในเรื่องการพัฒนาและวัด Learning Outcome ตัวเดียวให้เรามั่นใจว่าถ้าผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้และการวัดผลนี้แล้วพวกเขาจะ “ทำได้”


 

References :



ดู 1,878 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page