top of page
  • รูปภาพนักเขียนKlangjai S.

วิเคราะห์ผู้เรียน ตอบโจทย์การเรียนรู้ด้วย Persona

อัปเดตเมื่อ 25 ม.ค. 2566



ผู้เรียนคือใคร? ถึงแม้จะเป็นคำถามสำคัญในการออกแบบและการจัดการเรียนการสอน แต่น้อยคนมากที่จะเอาผู้เรียนมาเป็นตัวตั้ง โดยการวิเคราะห์ผู้เรียนว่าควรจะสอนอะไรและสอนอย่างไร ถ้าเราพูดถึงเรื่องการรู้จักผู้เรียนหรือ “ลูกค้า” บางท่านคงเคยได้ยิน Concept ของ User Experience Design มาไม่มากก็น้อย


สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้จาก Concept นี้คือเรื่องการสร้าง Persona ของผู้เรียน เพื่อให้เราเข้าใจว่าพวกเขาเป็นใคร มีความเข้าใจในเรื่องที่เรากำลังจะสอนมากแค่ไหน มี Attitude อย่างไรกับการมาเรียนกับเรา รวมถึงมีความจำเป็นในการนำสิ่งที่เรียนไปใช้ต่ออย่างไร ในบริบทใดบ้าง ข้อมูลพวกนี้สามารถ Make or Break ประสบการณ์การเรียนรู้ของพวกเขาได้


ถ้าเราไม่ทราบว่าผู้เรียนมาลงเรียนกับเราเพราะต้องการ Learning Outcome ที่ได้ไปเป็น Prerequisite ของการเรียนในวิชาอื่น หรือเอาความเข้าใจเหล่านี้ไปใช้ทำ Capstone Project เราก็คงไม่มีโอกาสได้ออกแบบการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการเหล่านั้น

หรือถ้าเราทราบก่อนว่ามีผู้เรียนหลายคนลงวิชาที่เรากำลังสอนเป็นครั้งที่ 3 แล้ว เราคงดูแลพวกเขาแตกต่างจากผู้เรียนคนอื่นเพื่อช่วยปิด Pain Points ครั้งที่ผ่านมา และทำให้พวกเขาสามารถทำสำเร็จได้ในครั้งนี้


 

Learner Persona คืออะไร และเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผู้เรียนอย่างไร


Learner Persona คือ Profile ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากข้อมูลจริงของผู้เรียน เพื่อทำให้เห็นข้อมูลในหลายๆ มุมที่จะเป็นประโยชน์กับการตัดสินใจในการออกแบบและจัดการเรียนรู้ให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน หรือวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้

พูดง่ายๆ ก็คือเราจะได้รู้ว่า “ใคร” คือคนที่จะ "ทำได้ทำเป็น" หลังผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เราเป็นคนออกแบบ เพื่อให้ “พวกเขาทำสำเร็จได้จริงๆ”

ด้านล่างคือ Definition ของ Learner Persona จาก Training Industry

Learner personas are well-developed fictional profiles that represent the target audience for whom you are designing a learning program. These personas share common characteristics, such as demographics, training goals, professional responsibilities, educational background, skill level and preferred platforms.”

 

ทำไมต้องมี Learner Persona


สำหรับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยส่วนมาก พวกเราพอจะทราบอยู่แล้วว่าผู้เรียนของเราเป็นใคร การสร้าง Persona คือ การเอาข้อมูลของผู้เรียนในหัวของเราออกมาเขียนเป็น Document เพื่อให้ง่ายต่อการจัดกลุ่ม ส่งต่อข้อมูล หรือนำไปใช้เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน


การจัด Categories ของผู้เรียนจากข้อมูลจริงอย่างเป็นระเบียบในรูปแบบของ Persona นี้ทำให้เราสามารถ ‘Design for Their Success’ ได้ดีขึ้นจากข้อมูลที่ชัดเจนและเพียงพอต่อการตัดสินใจที่จำเป็นต่างๆ ในการออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

การใช้ Persona ในการอ้างอิงถึง Profile ของผู้เรียนยังช่วยสร้างความเข้าใจให้สามารถออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วม และวางแผนในการช่วยผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง หรือฝึกฝนทักษะให้ตรงกับระดับความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม


 

3 ขั้นตอนในการสร้าง Learner Persona เพื่อวิเคราะห์ผู้เรียน


1. ออกแบบและเก็บข้อมูล


เริ่มด้วยการเก็บข้อมูลของผู้เรียนจริงผ่านการสัมภาษณ์หรือพูดคุยกับกลุ่มผู้เรียนตัวอย่าง รวมถึง Stakeholders อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พูดคุยกับอาจารย์ที่สอนผู้เรียนกลุ่มนี้ในวิชาก่อนหน้า ว่าพวกเขาเป็นอย่างไร หรือใช้เวลาใน Session แรกๆ พูดคุยกับผู้เรียนเพื่อหาข้อมูลตั้งต้น ในกรณีที่เราไม่มีโอกาสได้พบผู้เรียนก่อนหน้า อย่างน้อยเราควรมี Hypothesis Persona ของผู้เรียนไว้ในมือก่อนเพื่อใช้อ้างอิง แล้วค่อยๆ ปรับ Persona ที่มีให้เป็นไปตามข้อมูลจริงมากขึ้น


หนึ่งในวิธีการในการเก็บข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นสามารถทำได้ผ่านการใช้ Empathy Map ตาม เทมเพลต 3 อันด้านล่าง แต่ละอันสร้างมาเพื่อเป็น Categories ในการรวบรวมข้อมูลที่ช่วยทำให้มองเห็นข้อมูลที่จำเป็นในการทำความรู้จักผู้เรียนอย่างจริงจัง





จะเห็นว่าถ้าจะ Fill ข้อมูลในเทมเพลตได้ เราต้องรู้ว่าเราจะตั้งคำถามอย่างไรเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านี้ การออกแบบคำถามสำหรับ Learner Discover ควรมีการวางแผนหรือคิดคำถามไว้ก่อน ซึ่งมี Techniques มากมายในการถามคำถามประเภทนี้


ตัวอย่างคำถามที่เราสามารถถามผู้เรียนได้ตามคำแนะนำของ Julie Dirksen จากหนังสือ Design for How People Learn ได้แก่

  • Why are you learning this?

  • How will learning this help you (how are they motivated)?

  • What are the biggest hassles or challenges you experience (in relation to the topic)?

  • What are some examples of when you’ve had problems?

  • What was the hardest thing for you to learn?

  • What were the easy parts?

  • What could make it easier for you?

  • How do you use this information now?

  • What do you wish you had known when you first started?

  • Can you walk me through it?

  • What does a typical example look like?

  • What crazy exceptions have you seen?


คำถามที่เราสามารถใช้ถามผู้เรียนเพื่อให้เข้าใจพวกเขามากขึ้นควรเป็นคำถามในลักษณะปลายเปิดที่มีโครงสร้างพอที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เล่าเรื่องราวที่อาจจะดูนอกเหนือจากสิ่งที่เราอยากรู้ แต่ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเชื่อมโยงสิ่งที่เราถามกับความต้องการของตนเอง เพื่อให้เราได้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมมากขึ้น


ถ้าเราต้องสอน Online แต่ไม่แน่ใจว่ารูปแบบใดถึงจะเหมาะสม เราอาจจะถามข้อมูลปลายเปิดถึงความถี่หรือความถนัดในการใช้ Devices หรือประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้เรียนว่าเรียนแบบใดถึงมีประสิทธิภาพที่สุด

ถ้าอยากทราบความสามารถในเชิง Digital Skill เราอาจจะถามคำถาม เช่น ผู้เรียนเคยใช้ LMS บ้างหรือไม่ หรือใช้ Applications อะไรบ่อยๆ ในมือถือบ้าง ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยบอกระดับความสามารถในการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่เราสามารถนำไปวางแผนการจัดการเรียนการสอนต่อได้ Techniques การถามคำถามเพื่อให้เข้าใจผู้เรียนเชิงลึกสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก User Interview Discovery Question หรือหลักการสร้าง Persona จากหนังสือ The Lean Product Playbook by Dan Olsen



2. สร้าง Persona ของผู้เรียนที่หลากหลาย


ลำดับถัดมา คือ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จาก Step 1 มาจัดกลุ่ม ทำการวิเคราะห์หา Insights และจัดลำดับความสำคัญ Persona ส่วนมากจะประกอบด้วยข้อมูล Demographics, Psychographic, Behavioral, Need, etc.


สิ่งหลักๆ ที่ควรทราบในการสร้าง Persona มีดังนี้

  1. อะไรคือสิ่งที่ผู้เรียนต้องการ

  2. พวกเขามี Skill Level หรือความเข้าใจในเรื่องที่เรากำลังจะสอนอยู่ในระดับใด

  3. อะไรเป็น Motivation หลักหรือปัญหาหลักในการเรียนรู้เรื่องเหล่านี้

  4. พวกเขาจะเอาสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้นี้ไปทำอะไร


ด้านล่างนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการสร้าง Persona ซึ่งโดยปรกติแล้วจะสร้างหน้าเดียวเพื่อให้เข้าถึงง่าย

  • Name

  • Representative photograph

  • Quote that conveys what they most care about

  • Job title

  • Demographics

  • Needs / goals

  • Relevant motivations and attitudes

  • Related tasks and behaviors

  • Frustrations / pain points with current solution

  • Level of expertise / knowledge (in the relevant domain, e.g., level of computer savvy)

  • Product usage context/environment (e.g., laptop in a loud, busy office or tablet on the couch at home)

  • Technology adoption life cycle segment (for your product category)

  • Any other salient attributes

สำหรับการใช้โครงสร้างของข้อมูลด้านบนเพื่อสร้าง Learner Persona เราต้องเปลี่ยนมุมมองของ Product Usage Context / Environment ให้เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมี เช่น ในกรณีที่เรียนผ่าน Virtual Classroom เราต้องทราบว่าผู้เรียนเรียนอยู่กับใคร ต้อง Share Learning Space หรือ Devices กับใครในครอบครัวบ้าง เราอาจค้นพบว่าผู้เรียนต้อง Access Class ผ่าน Laptop ของคุณพ่อ หรือจำเป็นต้องเรียนในห้องเดียวกันกับคนอื่นๆ ในครอบครัว


ตัวอย่าง Learner Personas ด้านล่างนี้สามารถนำไปปรับตามความต้องการในการใช้งาน เพื่อทำให้เราออกแบบการเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจพวกเขามากขึ้น



3. ใช้ Persona ดังดาวเหนือ


เมื่อได้ Persona มาแล้ว ให้ใช้มันดังดาวเหนือในการนำทางการออกแบบ Learning Experience ให้ตอบโจทย์ ปิด Pain Points และตรงจุดมากที่สุด คุยกับ Persona ให้เหมือนเพื่อนในจินตนาการ


ถ้า Learner Persona ชื่อ “ต้อย” ให้ตั้งถามคำถามเวลาออกแบบการเรียนรู้ว่า

  • ต้อยรู้อะไรมาแล้วบ้าง

  • ต้อยยังไม่รู้อะไรบ้าง

  • ทำอย่างไรดีให้ต้อยสนใจในสิ่งที่เราจะพูด

  • ถ้าเราใช้เครื่องมือ X แล้วต้อยจะใช้เป็นไหม

  • ถ้าไม่เข้าใจต้อยจะถามเราไหม

  • มีวิธีอะไรจะทำให้ต้อยเข้าใจได้มากขึ้น

  • ความสำเร็จของต้อยในวิชานี้คืออะไร

  • ต้อยชอบเรียนรู้แบบไหน

  • เรื่องอะไรที่จะช่วยดึงความสนใจของต้อยให้เข้ามากับเนื้อหาที่เรากำลังจะสอนได้

ใน Class ของท่าน ต้อยอาจจะหมายถึงผู้เรียน 50% ของ Class ส่วนที่เหลือเราอาจจะใช้ Persona อื่นในการมอง แล้วแต่ข้อมูลที่ได้และกำลังที่มีในการ Personalised ประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน


 

ข้อควรระวังในการใช้ Persona


เวลาเราพยายาม Put People into Categories เรามักจำเป็นต้องปล่อยรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ระดับบุคคลของผู้เรียนให้หลุดไป เพื่อให้เราสามารถจับกลุ่มข้อมูลที่สำคัญซึ่งพบบ่อยในผู้เรียนส่วนมาก


สิ่งที่ควรระวัง คือ อย่างน้อยเราควรพูดคุยกับกลุ่มตัวอย่างในแต่ละ Persona ให้ครบทุกกลุ่ม เพื่อข้อมูลใกล้เคียงความจริงมากที่สุด พยายามไม่เอาความคิดเห็นส่วนบุคคล หรือความเห็นเชิง Stereotype มาเป็นข้อมูลใน Persona


ถ้าเราเคยได้ยินมาว่าผู้เรียนที่ไม่ทำการบ้านมักจะไม่ตั้งใจเรียนในห้อง เราอาจจะต้องเก็บข้อมูลจริงให้แน่ใจดูก่อนว่าข้อมูลสองส่วนนี้เกี่ยวกันจริงๆ หรือไม่ แทนที่จะเหมาไปใน Persona ว่าเป็นผู้เรียนกลุ่มที่ไม่ตั้งใจเรียนและไม่ทำการบ้านไปเลย


สิ่งสำคัญที่สุดคือ Mindset ของความเห็นอกเห็นใจผู้เรียนที่เริ่มจากการอยากเข้าใจพวกเขา และรับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อเป็นจุดตั้งต้นให้การการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้จริง ลองดูค่าาาา ดีต่อใจแน่นอน :)

ตาคุณแล้ว มาลองวิเคราะห์ผู้เรียนแบบใหม่ด้วยการสร้าง Persona ของผู้เรียนกัน หากชอบบทความแบบนี้ อย่าลืมกดติดตามหรือพูดคุยกันได้ที่ Facebook ETS KMUTT และ LINE Official Account @etskmutt



References:


ดู 681 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page